Open post

ราชภัฏชัยภูมิ ร่วมมือ กับ สผ. ลุยงานด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม

31  กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 น. –  12.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ร่วม กับ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ดำเนินการประชุมหารือ การเปลี่ยนหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ โดยนายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น และชี้แจงรายละเอียดด้านบทบาท ภารกิจกรรมของหน่วยอนุรักษ์ โดยนางสาวมัณฑนา  ศิริวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มงานจัดการสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม (กธศ.) /สผ. และทั้งสองหน่วยงานยังได้ลงนามความร่วมมือลงนามความร่วมมือบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ลงนามร่วมกับ  นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการ สผ. และมีรองศาสตราจารย์ ดร.สานนท์ ด่านภักดี รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์ฯ จังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วย นางกิตติมา  ยินเจริญ ผู้อำนวยการกองจัดการสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม ลงนามในฐานะพยาน ————-รายนามผู้บริหาร คณะทำงาน...

Open post

มาตรการส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายในการใช้รถใช้ถนนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ที่ 786 / 2563 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายในการใช้รถใช้ถนนภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการลดความสูญเสียทรัพย์สิน การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่เข้ามาในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามกฎหมายการใช้รถใช้ถนน ตลอดจนเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นแบบอย่างที่ดี ในการที่จะส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนต่อสังคมส่วนรวม ดังนั้น งานกิจการนักศึกษา จึงขอแจ้งเวียนประกาศดังกล่าวเพื่อให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และปฏิบัติตามประกาศนี้โดยเคร่งครัด...

Open post

ราชภัฏชัยภูมิจัดพิธีไหว้ครู 63 ภายใต้มาตรการด้านความสะอาดและปลอดภัย

16 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 น. – 12.00 น.มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ได้ดำเนินกิจกรรมพิธีไหว้ครู ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความเคารพและระลึกถึงพระคุณครูอาจารย์ ผู้ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ โดยในพิธีไหว้ครูได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1.กิจกรรมการประกวดพานไหว้ครู2.กิจกรรมการขับเสภาและร้องเพลงประสานเสียงเทิดพระคุณครู3.กิจกรรมการมอบเกียรติบัตรเกิดชูเกียรตินักศึกษาดีเด่น 3 ด้านได้แก่ ด้านตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ด้านความเป็นผู้นำและอุทิศตนเพื่อสังคม และด้านสร้างชื่อเสียงแก่มหาวิทยาลัย 3. กิจกรรมการมอบทุนการศึกษาแก่นักศึกษา4.กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมชุด “สาธุการมุทิตา อาจาริยคุณ” โดยท่านอธิการบดี (รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล) ประธานในพิธีฯ ได้ให้โอวาทแก่นักศึกษา ความตอนหนึ่งว่า “…ลูกศิษย์ทั้งหลายนำมาในวันนี้ เป็นความหวังของครูบาอาจารย์ว่าศิษย์ทุกคนจะเติบโตเป็นบัณฑิตที่้มี “ความรู้ดี มีคุณธรรม นำสังคม” สมดังอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ สิ่งที่อาจารย์ ต้องการจากศิษย์มากที่สุด คือการได้มองเห็นศิษย์ประสบความสำเร็จในการเรียน และการใช้ชีวิต ออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ และขอให้ลูกศิษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิได้ระลึกถึงครูบาอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ สถานที่ที่ทำให้เราทุกคนได้มาพบกัน ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดี ความทรงจำที่ดี รวมใจกันเป็นหนึ่งเดียว(CPRU...

Open post

กองทัพบกเตรียมตรวจเลือกทหารปี 63

ทหารกองเกิน..พร้อมแล้วรึยัง? กองทัพบกเตรียมตรวจเลือกทหารปี 63 เน้น Social Distancing ป้อง COVID-19 แจ้งเตือนผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกฯทุกคน ต้องไปแก้ไขหมายเรียกใหม่ เริ่ม 26 มิ.ย.63 จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เป็นเหตุผลให้กระทรวงกลาโหมโดยกองทัพบก จำเป็นต้องประกาศเลื่อนการตรวจเลือกทหารกองประจำการจากเดิมที่กำหนดไว้ในระหว่าง 1-12 เมษายน 2563 ออกไปเป็นห้วงเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 63 และการตรวจเลือกในปีนี้จะแตกต่างจากทุกปีที่ผ่านมา โดยมีการปรับกระบวนการ ขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกัน COVID-19 และวิถีปฏิบัติใหม่รวมถึงการเว้นระยะห่างทางสังคม(Social Distancing) อาทิ การเพิ่มช่วงระยะเวลาในกระบวนการตรวจเลือกมากขึ้นใช้เวลาถึง 67 วัน (จากเดิมใช้เวลาตรวจเลือก 12 วัน) การจำกัดจำนวนทหารกองเกินในแต่ละวันที่ทำการตรวจเลือก เพื่อลดความแออัด รวมทั้ง มีการจัดแบ่งผู้ที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกออกเป็น 3 กลุ่ม และแยกช่วงวันที่ ที่แต่ละกลุ่มจะต้องเข้ารับการตรวจเลือก คือ ผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นทหาร, ผู้ที่จะเข้าสู่กระบวนการจับฉลากใบดำ/แดง และผู้ที่ขอใช้สิทธิผ่อนผัน ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มจะถูกจัดลำดับแบ่ง วัน...

Open post

New Normal รูปแบบการเรียนรู้ท่ามกลางวิกฤตการณ์ COVID-19

การเรียนรู้ใหม่ ในวิถี New Normal    คำว่า New Normal หรือ ความปกติใหม่ กำลังเป็นคำพาดหัวยอดนิยมบนโลกออนไลน์ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในหลากหลายมิติของคนทั่วโลก ตั้งแต่การทำงาน การรักษาสุขภาพ แม้แต่การศึกษาเองก็จะต้องเผชิญกับภาวะของการปรับตัวครั้งใหญ่เช่นเดียวกัน และการเรียนรู้แบบออนไลน์กำลังจะกลายเป็นความปกติใหม่ของสังคมไทยมากขึ้น และการเรียนรู้แบบออนไลน์ก็ไม่ใช่แค่การสอนผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มเท่านั้น แต่การเรียนรู้วิถีใหม่นี้ยังมีอีกหลายมิติให้เราต้องทำความเข้าใจ จากพื้นที่สาธารณะสู่พื้นที่ส่วนบุคคล    การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คอนเทนต์อำนวยความสะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการปฏิสัมพันธ์ของคุณครูและนักเรียนจะลดน้อยลง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ยังมีอยู่ แต่เปลี่ยนพื้นที่จากโรงเรียนสู่โทรศัพท์มือถือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น วิธีการสอนที่ออกแบบให้ตรงตามจริตการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน    เราอาจคุ้นชินกับภาพห้องเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนมากรวมตัวกัน ใช้หนังสือเหมือนกัน สื่อประกอบการสอนเหมือนกัน และมีวิธีการประเมินผลเหมือนกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ในการเรียนรู้วิถีใหม่นั้น เป้าหมายของการศึกษาอาจยังคงเดิม แต่ผู้เรียนสามารถใช้วิธีที่แตกต่างในการไปให้ถึงจุดหมายได้ เด็กบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่าหากได้ดูภาพหรือคลิปวิดีโอ แต่เด็กบางคนอาจชอบการฟังคุณครูบรรยาย เพราะรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บทบาทที่เปลี่ยนไปของการประเมินผล    การให้เกรดบนสมุดพก และการประเมินผลจากการสอบ เป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามมายาวนานว่าช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการศึกษาจริงหรือไม่ ในการศึกษาแบบวิถีใหม่นี้ การประเมินจะถูกเปลี่ยนจาก “การประเมินผลการเรียน” ไปสู่ “การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้” นั่นคือการวัดผลลัพธ์ให้คุณครูเข้าใจว่าผู้เรียนเหมาะกับการเรียนรู้รูปแบบไหน และอะไรที่จะสามารถเติมทักษะที่คุณครูคาดหวังได้ การประเมินผลในวิถีการศึกษาใหม่จึงเป็นการทำความเข้าใจ ไม่ใช่การตัดสินแล้วคุณครูล่ะครับ พร้อมที่จะเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเด็ก ๆ...

Scroll to top